เกี่ยวกับเรา ติดต่อเรา ค้นหา


การสรรหาข้าราชการ (ก่อน พ.ศ. 2551)


กระบวนการในการสรรหาคนมาเป็นข้าราชการเพื่อปฏิบัติราชการให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของทางราชการ ประกอบไปด้วย การวางแผนกำลังคน การแสวงหาคน และการเลือกสรรคน ซึ่งแต่ละกระบวนการมีรายละเอียดปลีกย่อย ดังต่อไปนี้

วิธีการวางแผนกำลังคน

พัฒนาระบบข้อมูลกำลังคน

  • ในปี พ.ศ. 2550 สำนักงาน ก.พ. ได้จ้างบริษัทโปรเฟสชั่นนัลคอมพิวเตอร์ จำกัด มาพัฒนาระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคลระดับกรม – Department Personal Information System (DPIS) และศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกำลังเผยแพร่ระบบนี้ให้กรมต่างๆ จัดทำข้อมูลกำลังคนขึ้น

จัดทำแผนกำลังคน

  • กลุ่มงานเลขานุการคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ
  • สำนักวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคล

วิธีการแสวงหาคน

  • จัดการศึกษา
  • รับรองคุณวุฒิ
  • ให้ทุนการศึกษา
  • ดูแลจัดการศึกษา

วิธีการเลือกสรรคน

การสอบแข่งขัน

(ความเป็นมาดูได้จาก…“วิวัฒนาการของระบบการเข้ารับราชการฝ่ายพลเรือน”…) หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันที่ ก.พ. กำหนดตามตำแหน่ง มีดังนี้

  1. ตำแหน่งระดับ 1 และระดับ 2
    1. ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป สอบข้อเขียนในวิชาต่อไปนี้
      1. วิชาความสามารถทั่วไป
      2. วิชาภาษาไทย
    2. ภาคความรู้ความสามาถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง
    3. ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง
  2. ตำแหน่งระดับ 3 ขึ้นไป จะมีความแตกต่างจากการสอบระดับ 1 และระดับ 2 คือในส่วนของ
    1. ภาคความรู้ความสามรถทั่วไป
      1. วิชาความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์ และสรุปเหตุผล

การคัดเลือก

เจ้าหน้าที่ศูนย์สรรหาและเลือกสรร สำนักงาน ก.พ. เป็นผู้รับผิดชอบ กรณีมีเหตุพิเศษ ดังนี้

  1. การบรรจุและแต่งตั้งผู้ได้รับทุนรัฐบาล หรือทุนเล่าเรียนหลวง เพื่อศึกษาวิชาในประเทศหรือต่างประเทศ
  2. การบรรจุและแต่งตั้งผู้สำเร็จการศึกาตามหลักสูตรที่ ก.พ. อนุมัติให้ส่วนราชการใดจัดให้มีการศึกษาขึ้นเพื่อเข้ารับราชการในส่วนราชการนั้นโดยเฉพาะ
  3. การบรรจุและแต่งตั้งผู้สำเร็จการศึกษาในวุฒิที่ ก.พ. จะกำหนด
  4. การบรรจุและแต่งตั้งผู้สอบแข่งขันได้ ซึ่งไม่สามารถมารับการบรรจุได้เมื่อถึงลำดับที่ที่สอบได้ เนื่องจากอยู่ในระหว่างการรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร และได้มารายงานตัวขอรับการบรรจุเมื่อบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ที่ผู้นั้นสอบได้ถูกยกเลิกไปแล้ว ให้ผู้ประสงค์จะขอรับการบรรจุยื่นใบสมัรและหนังสือรับรองประวัติการรับราชการทหาร พร้อมด้วยสำเนาหลักฐานการศึกษาและสำเนาหลักฐานการรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร เมื่อพ้นจากราชการทหารโดยไม่มีความเสียหาย ผู้นั้นจะต้องมารายงานตัวเพื่อขอบรรจุเจ้ารับราชการภายในเวลา 180 วัน นับแต่วันพ้นจากราชการทหาร
  5. การบรรจุและแต่งตั้งผู้สอบแข่งขันได้ซึ่งถูกยกเลิกการขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ เนื่องจากได้มารายงานตัวเพื่อรับการบรรจุแล้ว แต่มีเหตุที่ไม่อาจเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งที่สอบแข่งขันได้ตามกำหนดเวลาที่ทางราชการจะบรรจุและแต่งตั้ง ให้ผู้ประสงค์จะขอรับการบรรจุยื่นหนังสือแสดงความจำนงขอบรรจุเข้ารับราชการและเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการภายใน 15 วัน นับแต่กำหนดเวลาที่ทางราชการจะบรรจุแต่งตั้ง
  6. กรณีอื่นที่ ก.พ. อนุมัติ

การทดลองปฏิบัติหน้าที่

เจ้าหน้าที่สำนักวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคล สำนักงาน ก.พ. เป็นผู้รับผิดชอบโดยมีการทดลองสองประเภท คือ

  1. ทดลองก่อนบรรจุ: บรรจุผู้สอบแข่งขันเป็นข้าราชการพลเรือนวิสามัญชั่วคราว เพื่อทดลองปฏิบัติราชการก่อนเป็นเวลา 6 เดือน ถึง 1 ปี
  2. ทดลองเมื่อบรรจุแล้ว: ให้ผู้เริ่มเข้ารับราชการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นเวลา 3 เดือน ถึง 1 ปี

การประเมินบุคคล

เจ้าหน้าที่สำนักตรวจสอบและประเมินผลกำลังคน สำนักงาน ก.พ. เป็นผู้รับผิดชอบการบรรจุผู้ที่มีประสบการณ์จากนอกวงราชการเข้าดำรงตำแหน่งในระดับสูง ซึ่งบุคคลที่จะบรรจุ ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  1. มีความรู้ ความสามารถและความชำนาญงานสูงในระดับผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ชำนาญการ
  2. ไม่เคยรับราชการมาก่อน
  3. ส่วนราชการที่ขอบรรจถเสนอประวัติและผลงานให้ทาง ก.พ. พิจารณา
  4. ก.พ. กำหนดอันดับเงินเดือนและขึ้นเงินเดือนไม่ต่ำกว่าจุดกึ่งกลางระหว่างขั้นสูง และขั้นต่ำของอันดับเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับ
  5. การโอน: การโอนมาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนต้องเสนอเรื่องมาให้ ก.พ. พิจารณาอนุมัติ และกำหนดระดับตำแหน่งเงินเดือนที่จะได้รับ คือ จะต้องกำหนดตำแหน่งและเงินเดือนให้ได้รับไม่สูงกว่าข้าราชการพลเรือนที่มีคุณวุฒิ ความสามารถและความชำนาญงานในระดับเดียวกัน
  6. การบรรจุกลับ: ให้ผู้มีอำนาจเสนอเรื่องไปยัง ก.พ. ให้พิจารณาอนุมัติ การคำนวณว่า ควรบรรจุพนักงานเทศบาลพนักงานส่วนท้องถิ่น และข้าราชการประเภทอื่น กลับเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับใด รับเงินเดือนเท่าใช้หลักเกณฑ์เดียวกับการโอน

สำนักงาน ก.พ., สำนักมาตรฐานวินัย. (2551). การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือน ก่อน พ.ศ. 2551. ม.ป.ท. : กลุ่มโรงพิมพ์ สำนักบริหารกลาง สำนักงาน ก.พ.





สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.)

Office of the Civil Service Commission (OCSC)