เกี่ยวกับเรา ติดต่อเรา ค้นหา


พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551


พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พุทธศักราช 2551 ได้ปรับเปลี่ยนบทบาทแนวทางและวิธีการปฏิบัติราชการ เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและสามารถเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนภารกิจของประเทศ โดยได้กำหนดบทบาทภารกิจของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 และให้การบริหารทรัพยากรบุคคลในภาคราชการสอดคล้องกับแนวทางการบริหารราชการแนวใหม่อย่างแท้จริง

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วย 11 หมวด 139 มาตรา ร่างขึ้นโดยคำนึงถึง 5 หลักการสำคัญ ได้แก่ หลักคุณธรรม โดยเน้นที่ความสามารถ ความเสมอภาค ความเป็นธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ และให้โอกาสทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน หลักความรู้ความสามารถที่จำเป็นและเหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการ หลักผลงาน มีการให้คุณให้โทษโดยพิจารณาจากผลการปฏิบัติงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ และหลักความสมดุลระหว่างคุณภาพชีวิตและการทำงาน

นอกจากนี้ ยังมุ่งที่จะเปลี่ยนแปลงมุมมองต่อระบบบริหารข้าราชการ จากเดิมที่เน้นการพัฒนาข้าราชการให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ยึดกระบวนการทำงานและประสิทธิภาพเฉพาะส่วน เปลี่ยนเป็นเน้นให้ข้าราชการเป็นผู้รู้รอบ รู้ลึก และเป็นแรงผลักดันที่สำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร มุ่งเน้นที่ประชาชน สร้างคุณค่า และผลผลิตผลลัพธ์ โดยมีตัวแปรที่สำคัญในการปรับเปลี่ยนคือ การปรับระบบจำแนกตำแหน่งเพื่อเป็นฐานให้ราชการมีระบบบริหารทรัพยากรบุคคล ตามลักษณะงาน ผลงาน และความรู้ความสามารถ

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พุทธศักราช 2551 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 125 ตอนที่ 22 ก เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2551 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม 2551 เป็นต้นไป

ที่มา พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 สำนักงาน ก.พ. กุมภาพันธ์ 2551

บทนำ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน

พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 33 มาตรา 43 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551”

มาตรา 2 [1] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา 3 ให้ยกเลิก

  • (1) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535
  • (2) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537
  • (3) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2538
  • (4) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2544

มิให้นำคำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ที่ 38/2519 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519 มาใช้บังคับแก่ข้าราชการพลเรือน

มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้

  • “ข้าราชการพลเรือน” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้ให้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณในกระทรวง กรมฝ่ายพลเรือน
  • “ข้าราชการฝ่ายพลเรือน” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือน และข้าราชการอื่นในกระทรวงกรมฝ่ายพลเรือน ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทนั้น
  • “กระทรวง” หมายความรวมถึงสำนักนายกรัฐมนตรีและทบวง
  • “รัฐมนตรีเจ้าสังกัด” หมายความว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวง รัฐมนตรีว่าการทบวง และหมายความรวมถึงนายกรัฐมนตรีในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาสำนักนายกรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี ในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวง
  • “ปลัดกระทรวง” หมายความรวมถึงปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีและปลัดทบวง
  • “กรม” หมายความรวมถึงส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม
  • “อธิบดี” หมายความว่า หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่ากรม
  • “ส่วนราชการ” หมายความว่า ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและมีฐานะไม่ต่ำกว่ากรม

มาตรา 5 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้


ลักษณะ 1 คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

มาตรา 8

มาตรา 21


ลักษณะ 2 คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม


ลักษณะ 3 บททั่วไป

มาตรา 36


ลักษณะ 4 ข้าราชการพลเรือนสามัญ


หมวด 1 การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนสามัญ


หมวด 2 การกําหนดตําแหน่งและการให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่ง​

มาตรา 49


หมวด 3 การสรรหา การบรรจุ และการแต่งตั้ง

มาตรา 70

มาตรา 66


หมวด 4 การเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ


หมวด 5 การรักษาจรรยาข้าราชการ


หมวด 6 วินัยและการรักษาวินัย

มาตรา 85


หมวด 7 การดําเนินการทางวินัย


หมวด 8 การออกจากราชการ

มาตรา 109

มาตรา 110


หมวด 9 การอุทธรณ์


หมวด 10 การร้องทุกข์


หมวด 11 การคุ้มครองระบบคุณธรรม


ลักษณะ 5 ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ (ยกเลิก)


บทเฉพาะกาล

มาตรา 128

มาตรา 132

มาตรา 137




  • [1]

    ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนที่ 22 ก หน้า 1 วันที่ 25 มกราคม 2551


วันที่ออกหนังสือ

25 ม.ค. 2551

สถานะการบังคับใช้

Tags
ผู้รับผิดชอบ

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.)

Office of the Civil Service Commission (OCSC)